วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561




การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education)


การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการวางแผน และกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่า จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร และตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา จัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใด จะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึ
กษาให้ทัดเทียมกัน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้ ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด และกระทรวง ต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน

ครั้งหน้าเราจะมาการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกกันนะครับ
ที่มา : http://taamkru.com/th/การประกันคุณภาพการศึกษา/#article106


วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

นักวิชาการศึกษา ตอนที่ 2 คุณวุฒิ/วุฒิการศึกษา


จากคราวก่อนที่ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษา วันนี้จะเสนอในเรื่องของ คุณวุฒิ/วุฒิการศึกษากันนะครับ

วุฒิการศึกษา มีด้วยกันหลายหลายสาขาวิชา หลายคนถามกันมาว่า การเป็นนักวิชาการศึกษาต้องจบการศึกษาด้านใดบ้าง

*ปริญญาตรี / ปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา

  1. ภาษา วรรณคดี
  2. นิติศาสตร์
  3. ศึกษาศาสตร์
  4. นิเทศศาสตร์ ทางวารสารศาสตร์ หรือทางสื่อสารมวลชน
  5. คณิตศาสตร์และสถิติ ทางคณิตศาสตร์ หรือทางสถิติ 
  6. หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ทางจิตวิทยา


*ปริญญาตรี เฉพาะผู้สอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการระดับปฏิบัติการ

ภาพจาก www.thaitribune.org
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งนักวิชาการศึกษา คลิก

ชื่อเรียกตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครู (ภาษาอังกฤษ)


วันนี้มีตำแหน่งทางวิชาการ ของครู และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาบอกครับ

ครู...
ครูอัตราจ้าง
(Contract Teachers)

ครูผู้ช่วย 
(Assistant Teachers) หรือ
ครูผู้ช่วย (ระดับปฏิบัติการ) 
(Practitioner Level)

ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ. 1
(K 1 Teachers)

ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ. 2)
Professional Level Teachers (K 2 Teachers)

รู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ. 3)
Senior Professional Level Teachers (K 3 Teachers)

ครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ (ค.ศ. 4)
Expert Level Teachers (K 4 Teachers)

ครู วิทยฐานะครูเชียวชาญพิเศษ (ค.ศ. 5)
Advisory Level Teachers (K 5 Teachers)


อาจารย์ในมหาวิทยาลัย...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 
Assistant Professor

รองสาสตราจารย์
Associate Professor

ศาสตราจารย์
Professor

ศาสตราจารย์กิตติคุณ, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
Emeritus Professor



เรียบเรียงและแปลโดย ดร. จันทร์พา ทัดภูธร
ที่มา https://sites.google.com/site/ajarntoi/saphth-wichakar-education/tahaenng-thangkar-suksa
ภาพ http://workinginpeelhalton.com/sheridan-college-has-an-open-position-for-a-professor-of-english-and-literary-studies-at-its-davis-campus/

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561

นักวิชาการศึกษา ตอนที่ 1 บทบาท / หน้าที่

หลายคนสงสัยว่า นักวิชาการศึกษา คือครูหรือไม่? ทำหน้าที่อะไร?
เรามาดูกันครับว่านักวิชาการศึกษา มีบทบาทและหน้าที่อะไรบ้าง

นักวิชาการศึกษาไม่ใช่ครูนะครับ แต่เป็นตำแหน่งที่สนับสนุนทางการศึกษา มีบทบาท / หน้าที่ ดังนี้ 
1. ด้านการปฏิบัติการ
    1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการพัฒนางานด้านวิชาการศึกษาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
    2) ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการศึกษา
    3) จัดทำแผนงาน/โครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
    4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและเอกสารด้านการศึกษา
    5) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
    6) ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานด้านการศึกษา
2. ด้านการวางแผน
    วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน
3. ด้านการประสานงาน
    1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร
    2) ชี้แจง ให้รายละเอียดให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมมือในการดำเนินกงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
    1) จัดบริการส่งเสริมการศึกษา เช่น จัดนิทรรศการหรือกิจกรรม เพื่อให้บริการทางด้านการศึกษาแก่ประชาชน
    2) ผลิตคู่มือ แนวทางการอบรม เอกสารทางวิชาการ เพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชน
    3) ดำเนินการจัดประชุมวิชาการ อบรมสัมมนาที่เกี่ยวกับการศึกษา
    4) เผยแพร่การศึกษาโดยใช้สื่อต่าง ๆ และเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อให้ความรู้ด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

คราวหน้ามาติดตามกันว่า วุฒิการศึกษาของนักวิชาการมีอะไรบ้าง ... ติดตามกันนะครับ 👉
ภาพจาก www.thaitribune.org
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งนักวิชาการศึกษา คลิก

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

เด็กต่างด้าว เข้าเรียนโรงเรียนไทย ได้ไหม?


คำถาม .... เด็กต่างด้าว เข้าเรียนโรงเรียนไทย ได้ไหม?
คำตอบ .... ได้ครับ

        ทั้งนี้ สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ ที่เปิดโอกาสให้เด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย เข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐได้ โดยไม่จำกัดระดับและประเภทการจัดการศึกษา และให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้แก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ในอัตราเดียวกับที่จัดสรรให้แก่เด็กไทยด้วยนั้น ทำให้สถานศึกษาสามารถรับเด็กต่างด้าวที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรเข้าเรียนได้ตามระเบียบฯ โดยโรงเรียนต้องขอหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- กรณีไม่มีหลักฐานการเกิด ใช้เอกสารของบิดา-มารดา คือทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นพิเศษ (ทร.๓๘/๑) ถ้าไม่มีหลักฐานของบิดา-มารดาใช้เอกสารของผู้ปกครองเด็กที่อาศัยอยู่ด้วย
- กรณีเด็กต่างด้าวมีบัตรประจำตัวของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนก็ใช้เลข ๑๓ หลักตามบัตรนั้น ซึ่งจะขึ้นต้นด้วยเลขศูนย์
- กรณีเด็กต่างด้าวอยู่ระหว่างการขอบัตรประจำตัวของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ให้ใช้เอกสารแบบ ๘๙/๔ ที่ทางอำเภอออกให้ก่อน

การแจ้งเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียน


เด็กที่จะต้องแจ้งเข้าเรียน
           เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่แปด จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาโดยจะต้องแจ้งภายในเดือนธันวาคมของปีนั้น (วิธีจำ-นำเลข ๖ บวกกับ พ.ศ. เกิดของเด็กแล้วตรงกับ พ.ศ.ใด ก็ไปแจ้งเด็กเข้าเรียนภายในเดือนธันวาคม ของ พ.ศ.นั้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงวันและเดือนที่เด็กเกิด)

ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งและสถานที่แจ้ง
           บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเด็ก จะต้องไปแจ้งที่สำนักงานเขตหรือสำนักงานเทศบาลหรือที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ (สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ กิ่งอำเภอ) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ หรือที่สำนักงานเขต หรือ สำนักงานเทศบาล หรือที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ (สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ กิ่งอำเภอ) ออกประกาศเพื่อส่งเสริมเด็กเข้าเรียน แล้วแต่กรณี

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
๑. สูติบัตร
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน

ค่าธรรมเนียม
การแจ้งเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ